สงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของ จีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อน ย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่นั้น เนื่องจากประเทศที่อยู่ในแถบร้อนถือว่า ช่วงเวลาเริ่มต้นฤดูร้อนนั้นเป็นช่วง เวลาที่ดีที่สุด ด้วยว่างเว้นจาก การทำการเกษตร อีกทั้งอากาศที่หนาวเย็นก็ผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยในช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ทุก ๆ อย่าง นั้น หยุดนิ่งไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ก็หยุดผลิดอกออกผล สัตว์ทั้งหลาย ก็หยุดนิ่งนอนจำศีล ด้วยอากาศที่หนาวเย็นนั้นไม่สะดวกในการใช้ชีวิต หรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเอง
วันสงกรานต์จึงเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ในประเทศแถบร้อน ซึ่งแตกต่างจากประเทศแถบหนาว ดังที่กล่าวไว้ในเรื่องของวันปีใหม่ วันสงกรานต์มีทั้งหมด ๓ วันด้วยกัน ได้แก่ วันที่ ๑๓ เมษายน วันมหาสงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า หมายถึง ก้าวหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ คือ สงกรานต์ปี การที่พระอาทิตย์ โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันทำความสะอาดใหญ่ ชำระล้างร่างกายและจิตใจให้ใสสะอาด เริ่มมีการเล่นสาดน้ำเป็นวันแรก สำหรับ ประเทศไทยกำหนดให้ วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุด้วย วันที่ ๑๔ วันกลาง หรือวันเนา หมายถึง อยู่คือวันที่ถัดมาจากวันมหาสงกรานต์ ๑ วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษ เรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่มักมีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมายเช่น ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีทราย ขบวนแห่ประเพณี สงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรมและมหรสพอื่นๆ … การเล่นสาดน้ำตามประเพณีไทยมักเล่นกันวันนี้มากเป็นพิเศษ วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศกใหม่ เป็นวันทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ ปล่อยนกปล่อยปลา อุทิศส่วน กุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษและขอพร ปีใหม่เพื่อเป็นศิริมงคลต่อชีวิต ตลอดจนจัดให้มีการสรงน้ำพระสงฆ์ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกด้วย
กิจกรรมในวันสงกรานต์ของประเทศไทย - การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะ เตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็ จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย - การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา - การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย - บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล - การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือ กับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้ - การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย - การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่ - การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมา ดุจทรายที่ขนเข้าวัด
วันสงกรานต์ของประเทศลาว “ประเทศลาว” หรือ“สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสวรรค์ของนักท่องเที่ยวอีกแห่ง เทศกาลสงกรานต์ ของที่นี่อยู่ในช่วงใกล้ๆ กันกับของประเทศไทย คือ 14-16 เมษายน ซึ่งวันที่ 16 ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ และมีหลายกิจกรรมที่คล้ายกับ ของไทยเรา เช่น มีการทำบุญ และสรงน้ำพระพุทธรูป แต่เสน่ห์ก็คือยังไม่มีการเล่นน้ำที่ค่อนไปทางหวาดเสียว โลดโผน รุนแรงแบบประเทศไทยเท่าไรนักเพราะด้วยสภาพบ้านเมือง ที่ยังคงสวยงามตามแบบฉบับดั้งเดิม วันสงกรานต์ของประเทศพม่า ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอีกแห่งที่มีเทศกาลสงกรานต์ที่เรียกว่า"ตะจังเหย่ตะเบงบะแวด่อ" หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า เหย่บะแวด่อ (คำว่า เหย่ แปลว่า "พิธีน้ำ" ส่วนบะแวด่อแปลว่า “เทศกาล” )ซึ่งทางการพม่าได้ประกาศให้ช่วงสงกรานต์เป็นวันหยุดแห่งชาติซึ่งจะ หยุดติดต่อกันนานถึง 10 วัน ขนมประจำสงกรานต์ที่นี่ คือ ขนมต้ม หรือ ม่งโลงเหย่บ่อ และมี ประดู่ หรือปะเด้าก์เป็นดอกไม้ประจำ เทศกาล แต่เดิมในพม่านั้นเขาเล่นน้ำกันอย่างนุ่มนวลโดยการประพรมน้ำจากขันเงินด้วยใบหว้าซึ่งเป็นไม้มงคล มีงานฉลองรื่นเริงใน โอกาสขึ้นปีใหม่ ผู้คนเข้าวัดทำบุญ แต่ระยะหลังก็ได้มีการเล่นสาดน้ำแบบเราด้วยแต่ทางการพม่าสั่งห้ามเด็ดขาดเรื่องการเล่นน้ำที่ รุนแรง มีกำหนดโทษหนักถึงจำคุก และเคยพบว่ามีผู้ทำผิดถูกประจานทางหนังสือพิมพ์บอกถึงชื่อพ่อแม่ของผู้กระทำผิดให้รับรู้ทั่ว ประเทศ
วันสงกรานต์ของประเทศกัมพูชา “ประเทศกัมพูชา” ประเพณีสงกรานต์ของดินแดนแห่งนครวัด นครธม นั้นมี 3 วัน ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ 14 ถึง 16 เมษายน วันแรกถือเป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันปีใหม่ตามธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมนั้นมีการแบ่งกิจกรรมของแต่ละวันไว้ว่า วันแรก เป็นวันแห่งการทำบุญตักบาตร มีการขนทรายเข้าวัดเพื่อเตรียมก่อเจดีย์ วันที่สองเป็นวันครอบครัวที่ลูกๆ จะอยู่กับพ่อแม่ อาจจะมีการ ให้เงินหรือซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้เป็นของขวัญ ส่วนในช่วงหัวค่ำจะช่วยกันก่อเจดีย์ทราย และวันที่สามก็จะมีการละเล่นรื่นเริงต่างๆ ที่นิยม เห็นจะเป็นการโยนลูกบอลที่คล้ายๆ การโยนสะบ้า จากนั้นก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวเพื่อ ความเป็นสิริมงคล ซึ่งโดยรวมแล้วประเพณีส่วนใหญ่ของที่นี่จะคล้ายกับของประเทศไทย ตามที่กล่าวมาข้างต้น คือประเพณีวัฒนธรรมในเทศกาลสงกรานต์ของประเทศเพื่อนบ้านและของไทยเราที่มีความน่าสนใจมาก มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่ในปัจจุบันทุกประเทศที่จัดประเพณีสงกรานต์กำลังประสบปัญหาอยู่ไม่ต่างกัน คือการเฉลิมฉลอง ได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน ยิ่งไปกว่านั้นยังมีใน การเล่นน้ำบางสถานที่มุ่งเน้นในเรื่องเพศ ทำให้ความงดงามของประเพณีนี้กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา
เอกสารอ้างอิง ........................................................................................................................... http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C http://iaee.wordpress.com/2007/04/13/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4% E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C/ www.dek-d.com/content/all/14782/ www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/15032
แหล่งที่มาข้อมูล : สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ.
Comments