top of page

เรือไทยในภาคเหนือ

Updated: Mar 29, 2021

ภาคเหนือของเรา โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนพบว่า ในแถบลุ่มน้ำที่สำคัญคือ ปิง วัง ยม น่าน จะมีการใช้เรือกันเป็นส่วนใหญ่ในการ ประกอบอาชีพ อาจจะใช้ข้ามฟากไปไร่ ไปสวน ใช้เรือขนถ่ายสินค้าจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง สมัยก่อนนี้จะใช้ในการขนถ่ายสินค้า ระหว่างเมือง อย่างทางแม่น้ำปิง วัง น่าน ยม บางทีก็จะมาถึงปากน้ำโพ ก็จะอาศัยเรือที่เป็นเรือแม่ประเค้า เรียก

ภาพจาก Web Site http://www.ayutthayacity.com/boat/boat.htm

เรือแม่ปากหรือเรือหางแมงป่อง ในการขนถ่ายสินค้าจากภาคเหนือลงไปสู่ในภาคเหนือตอนล่าง ลำเรือจะไม่กว้างใหญ่เหมือนกับเรือภาค กลาง อาจจะเป็นเพราะว่าในภาคเหนือพอฤดูน้ำ น้ำก็จะไหลแรง พอฤดูแล้ง น้ำก็จะไม่มาก เพราะฉะนั้นเรือก็คงจะให้ไปมาสะดวก เปรียบ เทียบลำเรือของภาคเหนือกับภาคกลางก็จะต่างกัน ในการขนถ่ายสินค้า โดยเฉพาะเมื่อรถไฟขึ้นมาถึงทางเหนือแล้วก็จะขนถ่ายสินค้า จาก ย่านสถานีรถไฟออกไปทางหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ตามชายอยู่ฝั่งแม่น้ำ พออิทธิพลของรถยนต์เข้ามาการใช้เรือต่าง ๆ ก็หายไป

ลักษณะพิเศษหรือเอกลักษณ์ของเรือไทยในภาคเหนือ ลักษณะของเรือภาคเหนือที่จะเป็นเอกลักษณ์ คือเรือในภาคเหนือ จะเป็นเรือที่ต่อโดยใช้ไม้สักโดยเฉพาะไม้สักทอง ไม้สักที่มี คุณภาพที่ดีที่สุดในโลก ในประเทศไทยจะเป็นไม้สักแถวเมืองแพร่ ลำปาง เรือจะเป็นลักษณะของส่วนบุคคล โดยเฉพาะ ของเจ้า

ภาพจาก Web Site http://www.ayutthayacity.com/boat/boat.htm

นาย ของคหบดี ของผู้มีอันจะกิน จะต่างจากภาคกลาง ซึ่งถ้าเป็นเรือยาวจะเป็นของหมู่บ้าน เป็นของวัด เป็นของกลุ่มคน แต่ภาคเหนือเรือจะ เป็นลักษณะเฉพาะของผู้มีอันจะกิน เป็นเรือลำใหญ่ ๆ ส่วนเรือของชาวบ้านก็จะเป็นเรือที่ใช้ในการไปมาหาสู่กัน จะเป็นเรือกาบปลี เรือโกลนหรือเรือโกล๋น ภาษาพื้นถิ่น เรียก เฮือโกลน ก็คือเรือที่เจาะจากไม้ ชาวบ้านจะใช้ข้ามฟากไปทำสวน จะมีลักษณะรูปร่าง ต่างจาก ของภาคกลาง ภาคกลางลำเรือจะดูกว้าง ลักษณะไม่เพรียวเหมือนกับของภาคเหนือ

ขั้นตอนวิธีการต่อเรือในภาคเหนือ การต่อเรือในสมัยก่อนโน้น จะใช้ความสามารถ ใช้ฝีไม้ลายมือ ใช้ความเป็นช่างช่วงเฉพาะ ตัวสูงเวลาจะไปเอาไม้สักต้นนึงกว่าจะไป หาไม้สักที่ต้นมันเลา ภาษาเหนือเรียกว่า มันเลาหรือมันเลาตรงไม่มีตามากแล้วก็ไม่เป็นไม้ที่ตายพายไม้จะมีโฉลกมีลักษณะดู เวลาได้แล้ว ก็จะต้องไปขอกับเจ้าป่าเจ้าเขา รุกขเทวดา จะต้องมีพิธี แล้วเวลาจะล้มคนที่จะไปล้มไม้เหล่านี้บางทีจะต้องมีครูมีคาถาอาคม เมื่อจะเอามา ต่อเรือ ถ้าเป็นเรือประเภทเรือกาบปลี หรือเรือใหญ่ เรือหางแมงป่อง ก็จะผ่าซุง ผ่าไม้ซุง การผ่าต้องไม่ใช้เลื่อย ใช้วิธีใช้ลิ่มตอกแยกออก เป็น 2 ซีก แล้วจะผ่าจากท่อนกลางใหญ่ก่อนแล้วก็ผ่าซอยเล็ก ๆ จะไม่ใช้เลื่อย เพราะบางครั้งใช้เลื่อยตัดแล้ว จะทำให้ร่องไม้เสียเรือไปถูก อะไรจะทำให้รั่วได้ง่าย แล้วไม้สักต้องเป็นไม้สักทองเพราะว่าไม้สักมีคุณสมบัติพิเศษคือจะเป็นได้ทั้งไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง มีความยืดตัว หดตัวดี จะซ่อมแซมอะไรก็จะง่าย ไม่เหมือนไม้อื่น ถ้าทำเรือที่เป็นเรือกาบปลีก็จะใช้ไม้ที่ผ่าออก แล้วก็เอามาทำเป็นไม้กระดานเป็นแผ่น ๆ นำมาขึ้นโครงเรือ มาทำดูกงู จะมีขั้นตอนอะไรต่าง ๆมากเหมือนกันเพราะว่าไม้ที่เอามา จะต้องไปตัดไม้ดิบมาแล้ว จะต้องนำมาไว้ในที่ร่ม ทิ้งไว้ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี ไม่ต้องถึงกับให้ไม้แห้ง พอหมาด ๆ จะผ่าได้ง่ายกว่า แล้วไม้ก็จะไม่เสียง่าย แต่ถ้าทิ้งให้แห้งเกินไปเวลาผ่าไม้ จะเสี้ยว หรือเสียง่ายอันนี้ก็เป็นเรือประเภทที่ต้องใช้ไม้กระดานขนาดประมาณสักหน้า 6-7 นิ้ว แล้วก็มาทำเป็นโครงเป็นรูปเรือแล้วก็ต่อกัน จะใช้ขี้ขะย้า ภาคเหนือเรียกว่า ขี้ขะย้าภาคกลางเรียกว่า ชัน นำมาเคี่ยว แล้วก็อุดรูรอยต่อให้ได้ที่ ถึงจะนำไปใช้ อันนี้จะเป็นลักษณะของเรือ กาบปลี เรือหางแมงป่องเรือใหญ่จะใช้ไม้กระดานต่อ ๆ กัน จะเป็นเรืออีกชนิดหนึ่ง ชาวบ้านใช้ไม้เล่มเดียวคล้าย ๆ กับเรือยาวของภาคกลาง ชาวบ้านเรียกว่าเรือโกลน หรือภาษาถิ่นจะเรียกว่า เฮี่ยโกล๋น เฮี่ยโกล๋นจะเจาะไม้ทั่วต้น เวลาจะเจาะ จะมีสูตรว่ากว้างเท่าไหร่ ยาวเท่าไหร่ ก็ขนาดที่จะเป็นโฉลกที่ดี พอไม้หมาด ๆ ก็จะเจาะโดยเจาะยังไม่ให้เรียบร้อย ก็จะนำเอาไปแช่น้ำก่อน พออิ่มตัวแล้วจึงเอาขึ้นผึ่ง แล้วก็ทำ การตบแต่ง สรุปวิธีการทำเรือของภาคเหนือ ก็จะเป็น 2 ลักษณะ คือ เรือที่เจาะทั้งต้น กับเรือที่ใช้ไม้กระดานเป็นแผ่น ๆ มาต่อกัน


แหล่งที่มาข้อมูล : สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ.

3 views0 comments

Recent Posts

See All

ตรุษจีน เทศกาลไหว้และขอพรในวันปีใหม่ของจีน

เทศกาลวันตรุษจีน วันตรุษแปลว่าวันเริ่ม หมายถึงวันเริ่มต้น การเริ่มต้น วันใหม่ เริ่มฤดูกาล ใหม่เริ่มปีใหม่ของคนจีนจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของชาวจีน ความเป็นมาคือ ประเทศจีนเป็นประเทศเก

เรือไทยในภาคกลาง

ประวัติความเป็นมาของเรือในภาคกลาง ถ้าจะย้อนถึงประวัติความเป็นมาของเรือไทยในภาคกลางนั้นไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์เรือของไทย คือ อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆราน

ประเพณีสงกรานต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของ จีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการ

bottom of page