ประวัติความเป็นมาของเรือในภาคกลาง
ถ้าจะย้อนถึงประวัติความเป็นมาของเรือไทยในภาคกลางนั้นไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติ
ศาสตร์เรือของไทย คือ อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ได้กรุณาวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจว่า เกิดจากความจำเป็นของคนสมัยก่อนที่จะต้อง
เดินทางไปมาหาสู่กัน การไปมาค้าขายและการยกกำลังพลเป็นกองทัพไปทำสงครามเนื่องจากในสมัยก่อนการเดินทางทางบกไม่มีถนน
หนทางลำบาก กันดาร และบ้านเรือนจะนิยมปลูกสร้างตามแนวแม่น้ำ ผู้คนสมัยนั้นจึงนิยมใช้แม่น้ำและคลองเป็นเส้นทางคมนาคมที่สะดวก
รวดเร็วที่สุด จึงใช้เรือเป็นพาหนะสัญจร เริ่มแรกนั้นเรือที่ใช้ในลำน้ำเป็นเรือขุดซึ่งมีการลองผิดลองถูกหลายอย่าง บางครั้งเรือก็ไม่ลอย
เพราะมีน้ำหนักมากเกินไป หรือการขุดเรือไม่ได้สมดุล เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งทำให้เรือจมน้ำได้ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็นเรือขุด
ซึ่งขุดจากท่อนซุง วิธีการขุดเรือคือ เอาไม้เผาไฟแดง ๆ วางไว้บนผิวเรือตามตำแหน่งที่จะขุด แล้วให้ไม้ไหม้ไฟเพื่อจะได้ขุดลงในตัวไม้ให้
เกิดร่องเกิดหลุมกว้างเป็นรูปเรือ หลังจากขุดแล้วนำไปทดลองลอยน้ำและปรับปรุง
ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ช่องว่างให้มีความสมดุลไม่พลิกคว่ำ เรือขุดสมัยก่อนทำมาจากท่อนซุง ต่อมาเป็นเรือต่อ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณสมัยรัชกาลที่ 2 มี การสั่งเรือพายเรียกว่าเรือสำปั่นจากประเทศจีนเข้ามาใช้ในประเทศไทย ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 มีการต่อเรือสำปั่นแปลงขึ้นหลังจากนั้นก็มี การต่อเรือเลียนแบบเรือโบ๊ตซึ่งต่อมาเรียกว่า "เรือบด" เรือกรรเชียง เรือเข็มซึ่งมีลักษณะเป็นเรือลำเล็ก ๆ นั่งได้คนเดียว พลิกคว่ำง่ายเป็น เรือที่พระสงฆ์พายบิณฑบาตร เพราะพระสงฆ์จะได้มีความสำรวมในการออกบิณฑบาตร ต่อมาเป็นเรือต่อใช้ไม้กระดานต่ออย่างน้อย 3 แผ่น ในอดีตมีการต่อเรือเดินทะเลซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบเนื่องจากเรือสำเภาจีน เรือของประเทศฝรั่งเศส เรือของประเทศฮอลันดาที่ได้ ติดต่อค้าขายกับประเทศไทยและนำไม้จากเมืองไทยซึ่งมีราคาถูกมาต่อเรือโดยชาวต่างประเทศ และคนไทยร่วมทำการต่อเรือทำให้คนไทย ได้เรียนรู้วิธีการต่อเรือจากชาวต่างประเทศ ซึ่งการต่อเรือของชาวต่างประเทศจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า "ค่าพาดหลวง" คือเงินที่เจ้าของเรือ จ่ายเป็นค่าภาษีให้แก่รัฐ ท่านที่สนใจสามารถศึกษาได้จากกฎหมายตราสามดวง ส่วนหลักฐานอ้างอิงว่ามีการใช้เรือในประเทศไทยมาเป็น เวลานานแล้วนั้น เนื่องจากในสมัยปัจจุบันได้ขุดพบซากท่อนซุงที่ขุดเจาะเนื้อไม้ตรงกลางเป็นหลุมใหญ่ ซึ่งตอนแรกคิดว่าเป็นโลงศพแต่ สันนิษฐานว่าไม่ใช่เพราะมีขนาดใหญ่และกว้างกว่า ที่สำคัญคือสามารถลอยน้ำได้
ลักษณะการต่อเรือ
ประวัติความเป็นมาของเรือในภาคกลางของประเทศไทยนั้นได้พบหลักฐานว่ามีการใช้เรือมานานนับพันปี และที่ปรากฏหลักฐานว่า
มีการใช้เรือมากคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทำเลที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองมากมายพาหนะชนิดเดียว
เท่านั้นที่ใช้ได้สะดวกก็คือเรือ สภาพสิ่งแวดล้อมดังกล่าวทำให้มีการต่อเรือในภาคกลางขึ้นซึ่งจะมีเทคนิคการต่อเรือนั้นใช้ไม้ทำโครงเรือ
โดยเรียกไม้ชิ้นนั้นว่ากระดูกงู แล้วใช้ไม้ขวางตลอดโครงกระดูกงูเรียกว่า กง ตั้งกงขวางลำเรือไปเรื่อย ๆ ต่อมานำกระดานแผ่นเรียบมา
ประกอบด้านล่างและด้านข้างประมาณ 5 แผ่น ซึ่งเรียกว่า "เปลือกเรือ" ปกติกระดานแผ่นกว้างใช้ไม้แผ่นยาวชิ้นเดียวไม่มีการต่อ คือ
ท้องเรือ 1 แผ่น ที่เรียกว่ากระดูกงู ข้างเสริม 2 แผ่น แต่ละแผ่นกงรอยต่อใช้ด้ายดิบ ลักษณะของด้ายดิบก็จะเห็นได้จากไส้ของเทียนไขหรือ
ด้านสายสินญ์ ด้ายดิบคือด้ายที่ยังไม่ฟอกนำมาชุบน้ำมันยางแล้วผึ่งให้ผ้าหมาดแล้วใส่ลงตามร่องให้แน่นไม่ให้มีช่องว่าง การตอกด้ายดิบลง
ในแนวยาเรือเรียกว่า "วิธีการตอกหมัน" จากนั้นนำชันมายาตามแนว ซึ่งชันก็คือยางจากต้นยางมีลักษณะเป็นผง ผสมน้ำมันยางเอาปูนแดง
ใส่คลุกให้เหนียวยาตามแนวตอกหมันยาภายในตามแนวเรือ พอยาแห้งแล้วขั้นตอนต่อไปเป็น "วิธีการพอนเรือ" คือการเอาน้ำมันยางผสม
ชันผสมให้เหลวแล้วทาให้ทั่วเรือเป็นลักษณะเคลือบทิ้งไว้ให้แห้งก็สามารถนำเรือลงน้ำได้ และเมื่อใช้เรือไปนาน ๆ เรือเกิดชำรุดน้ำซึมเข้า
ไปในเรือจึงมี "วิธีการซ่อมเรือ" คือให้ขัดผิวภายนอกเรือแล้วทำ "วิธีการพอนเรือ" ซ้ำอีกครั้งก็สามารถนำเรือออกมาใช้ได้ดังเดิม
นอกจากเทคนิควิธีการต่อเรือในภาคกลางจะเป็นวิธีที่ใช้เวลามากแล้ว ยังต้องเริ่มจากการหาไม้ที่มีต้นสูง ลำต้นตรง และรอบวงลำ
ต้นใหญ่พอเหมาะที่จะขุดเรือแต่ละประเภทแล้ว การซื้อขายเรือในสมัยก่อนก็ยังมีคติความเชื่อ เริ่มจากหาไม้ที่นำมาต่อเรือดูว่าตาอยู่ตรง
ไหน เนื้อไม้เป็นอย่างไร เรือที่จะซื้อจะพิจารณาจากการดูตาไม้ เนื่องจากมีความเชื่อตามโฉลกของตาไม้ เช่นช่องที่ 1 มีตาถือว่าดี คำทำ
นายเป็นเศรษฐี ขุนนางช่องที่ 2 มีตา ถือว่าร้าย เป็นต้น เวลาซื้อขายเรือจะไม่มีการซื้อขายในวันพุธเนื่องจากมีความเชื่อว่าหัวกุดท้ายเน่าไม่
เจริญ คำทำนายต่าง ๆ เหล่านี้ศึกษาได้จากหนังสือสมุดไทย พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่จังหวัดชุมพร
ประเภทของเรือ
เราจะเห็นเรือที่ใช้เป็นพาหนะสัญจรบริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศมีอยู่มากมาย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของเรือเป็น 3 ประเภท
ด้วยกัน คือ แบ่งตามฐานะ แบ่งตามชนิด และแบ่งโดยกำลังที่ใช้แล่น
ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ประเภทที่ 1 แบ่งตามฐานะเป็น 2 พวก ดังนี้ เรือหลวง คือ เรือที่ราษฎรไม่มีสิทธิ์นำมาใช้ถือเป็นของสูง เช่น เรือพระที่นั่งในขบวน
พยุหยาตราทางชลมารค เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งศรี เป็นต้น ส่วนเรือราษฎรได้แก่เรือทั่ว ๆ ไปที่ใช้ตามแม่น้ำลำคลอง
ประเภทที่ 2 แบ่งตามชนิด ได้แก่เรือขุดและเรือต่อ ซึ่งทั้งเรือขุดและเรือต่อยังอาจแบ่งออกเป็น 2 พวกด้วยกัน คือเรือแม่น้ำพวก
หนึ่งกับเรือทะเลอีกพวกหนึ่ง เรือแม่น้ำคือเรือที่ใช้ไปมาในแม่น้ำลำคลอง มีทั้งเรือขุดและเรือต่อ ได้แก่เรือมาด เรือหมู เรือพายม้า เรือม่วง
เรือสำปั้น เรืออีแปะ เรืออีโปง เรือบด เรือป๊าบ เรือชะล่า เรือเข็ม เรือสำปันนี เรือเป็ด เรือผีหลอก เรือเอี้ยมจุ๊น เรือข้างกระดาน เรือกระแชง
เรือยาว เรือมังกุ ส่วนเรือทะเลคือเรือที่ใช้ไปมาในทะเลและเลียบชายฝั่ง เป็นเรือชนิดเรือต่อได้แก่ เรือฉลอม เรือฉลอมท้ายญวน เรือเป็ด
ทะเล เรือกุแหละ หรือเรือกุไหล่ เรือโล้ เรือสำเภา เรือปู เป็นต้น
ประเภทที่ 3 แบ่งโดยกำลังที่ใช้แล่น เช่น เรือพาย เรือกรรเชียง เรือแจว เรือโล้ เรือถ่อ ใช้ไม้ใบพายยาว เช่น เรือแม่ปะเรือหาง
แมลงปอ เรือหางแกว่ง เรือใบเรือ เป็นเรือทีใช้ใบเรือ ลักษณะใบเรือทำจากเสื่อลำแพนหรือเสื่อกกนำมาสาน แทรกด้วยไม้ไผ่เพื่อให้เกิด
ความแข็งแรง และเรือที่น่าสนใจคือเรือของตำรวจเรียกว่าเรือม่วง เป็นเรือขุดยาวประมาณ 4 เมตร แล่นเร็ว ใช้กวดจับขโมยหรือโจร ซึ่ง
สามารถศึกษาได้จากกรมพระนครบาล หอสมุดแห่งชาติเรือทั้ง 3 ประเภทที่แบ่งตามฐานะ แบ่งตามชนิดและแบ่งโดยกำลังที่ใช้แล่นใน
ระหว่างแม่น้ำ ลำคลอง และทะเลนั้นแน่นอนว่าต้องมีประโยชน์ในการใช้งานแตกต่างกัน เรือแต่ละชนิด แต่ละประเภทที่อธิบายมานี้ใช้เป็น
พาหนะทางน้ำสำหรับคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ใช้บรรจุสินค้า สัตว์เลี้ยง พืชผักไปค้าขายในระหว่างแม่น้ำ ลำคลอง และทะเลเหล่า
นี้เป็นปกติในการใช้เรือ เรือบางชนิดใช้เป็นยานพาหนะรับจ้างรับคนโดยสารข้ามแม่น้ำ หรือลำคลองจากฟากหนึ่งส่งอีกฟากหนึ่งเรือชนิดนี้
มักเรียกว่า "เรือจ้าง"
เรือบางชนิดใช้ในเทศกาลต่าง ๆ เพื่อจัดเป็นขบวนแห่ทางน้ำ เช่น เทศกาลทอดกฐิน เทศกาลชักพระ เรือที่เข้าร่วมในขบวนจะได้รับ
การตกแต่งต่าง ๆ ให้สวยงามกว่าปกติ เรือบางชนิดใช้ในการละเล่นทางน้ำตามประเพณีนิยมเมื่อสมัยก่อน เช่น การเล่นสักวา การเล่นเพลง
เรือ หรือเพลงทุ่งในหน้าน้ำนอง นอกจากนี้ยังมีเรือที่ใช้เป็นที่อยู่ถาวร เรือใช้แข่งขัน และเรือที่พระสงฆ์ใช้ในการบิณฑบาตรอีกด้วย
ประเพณีเกี่ยวกับเรือในภาคกลาง
จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของเรือนั้นมีมากมายทั้งใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร รับจ้าง ใช้แข่งขันกัน ใช้ในเทศกาลต่าง ๆ ตลอดจนใช้ในการ
ละเล่นทางน้ำตามประเพณีนิยมเมื่อสมัยก่อน ดังนั้นคนไทยในสมัยก่อนจึงมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเรือไว้พอสังเขปดังนี้ คือ
1. แม่ย่านางเรือ ห้ามเหยียบหัวเรือ ซึ่งเป็นกุศโลบายที่ต้องการให้ผู้ใช้เรือมีความรัก ทะนุถนอมใช้เรืออย่างระมัดระวัง เพราะเรือใน
สมัยก่อนมีราคาแพง
2. ห้ามพายเรือยังไม่แก้โซ่ เพราะคนไทยจะเอาโซ่ผูกเรือไว้ หากไม่แก้โซ่ก่อนพายเรือก็จะทำให้เรือล่ม กระชากเรือทำให้ชำรุดเกิด
อุบัติเหตุทำคนพายตายได้
3. อย่าเหยียบเรือ 2 แคม ไม่ใช่ในความหมายปัจจุบันที่เจ้าชู้จะเอาทั้งพี่ทั้งน้องในเวลาเดียวกัน แต่มีความหมายที่ถูกต้องว่าอย่า
เหยียบเรือ 2 แคม จะทำให้เรือล่ม หรือพลิกคว่ำเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้
4. ไปทางน้ำห้ามจระเข้ เนื่องจากมีผู้ร่วมไปในเรือหลายคน จึงต้องทำให้ผู้ร่วมเดินทางขวัญและกำลังใจที่ดี ไม่ควรจะตกใจเห็นอะไร
ในน้ำก็คิดว่าเป็นจระเข้ จะทำให้ผู้ร่วมเดินทางเกิดอันตรายเรือล่มได้
5. อย่าจอดเรือใต้ต้นไม้ เนื่องจากสมัยอดีตจะมีต้นไม้ใหญ่ ๆ อยู่มากตามริมน้ำ ลำต้นและกิ่งไม้อาจผุกร่อน หากกิ่งไม้ใหญ่ตกลงมา
ใส่ศรีษะก็จะทำให้เกิดอันตรายหรือเรือเกิดชำรุดเสียหายได้
ความเชื่อเกี่ยวกับเรือเกี่ยวกับแม่ย่านางเรือ ห้ามเหยียบหัวเรือ ห้ามพายเรือยังไม่แก้โซ่ อย่าเหยียบเรือ 2 แคม ไปทางน้ำห้ามจระเข้
อย่าจอดเรือใต้ต้นไม้ ยังมีผู้คนทั้งในสมัยก่อนและสมัยปัจจุบันให้ความเชื่อถืออยู่เสมอนับว่าเป็นกุศโลบายที่ดีที่สามารถทำให้ผู้ใช้เรือเกิด
ความปลอดภัยนั่นเอง
ประเพณีหรือวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องเรือนั้นในสมัยปัจจุบันก็ยังมีให้เห็น ได้แก่
1. การเล่นเพลงเรือ จะทำให้คนคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น เพลงเรือ
2. กฐินทางน้ำ ในสมัยก่อนการเดินทางโดยทางบกจะลำบาก ทุรกันดาร จึงนิยมเดินทางโดยทางน้ำเพราะสะดวกรวดเร็วกว่าทางบก
กฐินทางน้ำจึงเกิดขึ้นซึ่งจะมีขบวนเรือตกแต่งอย่างสวยงามกว่าปกติ
3. ประเพณีชักพระที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4. ประเพณีตักบาตรร้อยพระ จะเป็นประเพณีที่พระสงฆ์นั่งเรือมาตักบาตร ซึ่งมีให้เห็นในจังหวัดปทุมธานี
5. ประเพณีแข่งเรือ ก็มีให้เห็นมากมายที่จังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนคร ใช้คนพายประมาณ 20 คน
6. ประเพณีเกี่ยวกับการทอดผ้าป่าทางเรือ มีทั้งของหลวงและของราษฎร แตกต่างกันตรงขนาดและเครื่องไทยทาน เนื่องจากของ
หลวงจะมีขนาดใหญ่กว่า
หากต้องการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องเรือไทยในภาคกลางนั้นก็ศึกษาได้จากกฎหมายตราสามดวง จากสมุดไทยพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่
จังหวัดชุมพร หรือหอสมุดแห่งชาติได้
Comments