top of page
siammongkol6

เรือไทยในภาคใต้

ประวัติความเป็นมาของเรือไทยในภาคใต้

เริ่มต้นด้วยประวัติและวิวัฒนาการของเรือกอและ เพราะว่าคิดว่าเรือกอและเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้สันนิษฐานว่าเรือ

กอและจะเกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับการเแพร่ขยายของศาสนาอิสลามในประเทศไทยและเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานทางภาค

ใต้ตอนล่างของชาวมุสลิมเรียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมาจนถึงแหลมมลายูตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยและ

ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เนื่องจากชาวมุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญพิเศษในการออกเรือ ดังนั้นกลุ่มชนนี้จึงยึดอาชีพการประมงเป็นอาชีพหลัก และเนื่องจาก เป็นชาวพื้นบ้านชาวพื้นเมืองที่มีทุนทรัพย์น้อย จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการออกทะเลเพื่อทำการประมง คือการคิดสร้างเรือ ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่สามารถออกทะเลได้ต่อสู้กับแรงลมกลางทะเลได้ดี สะดวกและคล่องตัวในการออกทะเลและเข็นขึ้นเก็บ บนชายฝั่งเมื่อกลับเข้าสู่ฝั่ง ลักษณะและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับความต้องการของชาวพื้นเมืองสิ่งนี้น่าจะเป็นประถมเหตุทำ ให้เกิดเรือกอและและปรากฏเรื่องราวเรือกอและในภาคกลางตามบันทึกของพระยาอนุมานราชทน สันนิษฐานว่าน่าจะมีเรือกอและ และใช้กันแพร่หลายในสมัยสุโขทัย

รูปแบบและขนาดของเรือกอและ

ในปัจจุบันนี้เรือกอและที่นับว่าใหญ่ที่สุดในโลกคือ เรือกอและต่อที่ตำบลลูซะมีแล จังหวัดปัตตานีเป็นเรือที่มีความยาวที่สุด

โดยวัดที่กระดูกงูยาวประมาณ 21 ศอก หรือประมาณ 378 นิ้ว (ศอกหนึ่งประมาณ 18 นิ้ว)


ความแตกต่างจากเรือในภาคอื่นกับเรือกอและ

ความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน เท่าที่สังเกตได้คือเรือที่มีอยู่ในภาคอื่น ๆ จะไม่มีการตกแต่งจุดมุ่งหมายของการ

สร้างเรือในภาคอื่น ๆ จะสังเกตได้ว่าต้องการเรือที่จะใช้นำไปทำการประมงเท่านั้น แต่สำหรับเรือกอและนอกจากจะลงสีพื้นแล้วยังมี

การตกแต่งให้สวยงามสะดุดตา หลายท่านคงจะแปลกใจว่าเขาตกแต่งกันไปเพื่อแข่งขันหรืออะไร แต่จริง ๆ แล้วชาวพื้นเมืองที่นี่เขา

ตกแต่งเรือกอและเพื่อความงามเพื่อความงามเป็นอันดับแรกแล้วจึงนำออกไปทำการประมง


เทคนิควิธีการต่อเรือกอและ

1. เริ่มจากวัสดุที่สำคัญที่สุดคือไม้ที่ใช้ในการต่อเรือกอและ ใช้ไม้จริง ถ้าเป็นภาษาไทยเรียกว่าตะเคียนทอง จะใช้ไม้

ตะเคียนทองเป็นหลัก ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายทั่วไป ตามโรงไม้นำมาทำไม่ได้แต่ต้องไปตัดต้นมาและนำมาแปรรูปเอง

2. ในการต่อขึ้นโครงเรือกอและ

2.1 การตั้งดูกงู ส่วนนี้เปรียบเสมือนเป็นสันหลังของเรือที่จะต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของเรือเพราะฉะนั้นไม้ที่ใช้ทำ

กระดูกงูท่อนนี้ จะต้องเป็นไม้ชิ้นเดียวตลอดไม่สามารถใช้ไม้ที่มีการตัดต่อ แต่จะต้องเป็นไม้ท่อนเดียว การตัดไม้ทำกระดูกงูจะต้อง

ทำให้ยาวและหน้าตัดต้องเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมคางหมู เพราะลักษณะของสี่เหลี่ยมคางหมูเมื่อตั้งกระดูกงู

2.2 การต่อเรือคือการเอาไม้กระดานที่เตรียมเอาไว้ประมาณข้างละ 5 แผ่น ประกอบขึ้นเป็นลำเรือ จะต้องโค้งตามลำ

เรือ เพราะฉะนั้นตรงนี้จะต้องมีการใช้ความร้อนเพื่อดัดไม้กระดานให้มีส่วนโค้งตามต้องการ จุดเด่นของการต่อเรือกอและคือในการ

ที่ต่อประกบไม้กระดานแต่ละแผ่นจะไม่มีการใช้ตะปูเหล็ก เป็นตัวยึดไม้กระดานแต่ละแผ่น แต่เขาจะใช้ตะปูเดือยไม้ หรือว่าที่นี่ภาษา

ถิ่นเรียกว่า ตาลซอล แต่เป็นไม้ใช้สำหรับเชื่อมต่อไม้แต่ละแผ่นให้ยึดติดกันคือการต่อเรือ

2.3 การตั้งกง กงเปรียบเสมือนกับซี่โครงของเรา จะวางเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่หัวเรือจรดท้ายเรือการวางกงเพื่อให้ติดแน่น

กับตัวกาบเรือด้านล่าง เขาจะต้องมีการยิงตะปูในส่วนนี้ใช้ตะปูเหล็ก การใช้ตะปูเหล็กยึดเพื่อให้คงติดกับข้างลำเรือให้แข็งแรง

2.4 การใช้ลวดพันรอบตัวเรือ เพื่อให้แผ่นไม้ที่ขึ้นไปกาบเรือด้านล่างทั้งสองข้างแน่น เขาจะใช้ลวดพันรอบตัวเรือแล้ว

รัดโดยใช้ไม้วางข้างบน แล้วใช้ลวดมัดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง แล้วก็มีลิ่มทั้งสองปลายเพื่อจะตอกลิ่มตรงนี้เพื่อให้ลวดแน่นขึ้นไม้จะได้

แนบสนิทยิ่งขึ้น ในการมัดจะใช้ลวดเส้นเล็ก ๆ ไม่ใช้ลวดขนาดใหญ่ จะมัดและตอกลิ่มตรงนี้เข้าไป เพื่อที่จะให้มันแน่นที่สุด เคยมีคน

ถามว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ ช่างต่อเรือบอกว่าจะใช้เวลานานเท่ากับเงินงวดที่ 2 เพราะการว่าจ้างจะจ่ายเงินกันเป็นงวดส่วนนี้

สำคัญมากคือเขาจะแกะเอาลวดออกแล้วก็ทำในขั้นตอนต่อไป แต่ถ้าเรือมีขนาดใหญ่ต้องเพิ่มขนาดจำนวนเส้นลวดและรอบในการมัด

ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3. การตกแต่งให้เรือเกิดความสมบูรณ์และสมดุลย์ 3.1 การปิดส่วนหัวและส่วนท้าย ในส่วนหัวและส่วนท้ายนี้จะใช้ท่อนไม้ใหญ่แล้วก็ปิดตรงส่วนหัวแต่งให้สวยงามโดย เฉพาะในปัตตานีเรือกอและเป็นเรือแบบท้ายตัด เพื่อที่จะให้สมดุลในการที่จะวางเครื่องเรือตรงท้าย เรือจะได้ไม่เสียความสมดุล เพราะฉะนั้นการปิดท้ายจะต้องใช้ไม้กระดานปิดท้ายแบบท้ายตัด 3.2 การปิดและตกแต่งด้านกาบเรือด้านล่างของทั้งด้านซ้ายด้านขวา จะไปรวมกันตรงหัวเรือแล้วจะเกิดช่องว่างโปร่ง ช่างต่อเรือเขาจะมีท่อนไม้ภาษาท้องถิ่นเรียกว่าสปัน การนำท่อนไม้ใส่เข้าไปโดยท่อนไม้นี้จะต้องโค้งตามหัวเรือโดยการใช้ขวานจาม เพื่อให้เป็นรูปทรงที่สวยงามตกแต่งให้สวยงาม 3.3 ขั้นตอนการต่อกาบเรือด้านบนขึ้นมาประมาณสามนิ้ว 4. อุดรอยรั่วของเรือส่วนนี้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจริง ๆ การทำน้ำยาที่อุดเรือได้มาจากการผสมของน้ำมันยางชันนะกับ กระสอบป่าน โดยการตัดกระสอบป่านให้ละเอียดแล้วคลุกเคล้าผสมกันจนเป็นของเหนียว ๆ ปั้นเป็นก้อนให้กลมหรือเป็นแท่งยาว ๆ มาอุดรอยรั่วต่าง ๆ บนเรือให้ทั่วตลอดลำ 5. เอกลักษณ์ของการต่อเรือกอและก็คือการทำส่วนประกอบตกแต่งส่วนประกอบด้วย 5.1 ส่วนใบหัวเรือ มีบางงา จาปิ้ง ตรงนี้เป็นส่วนประกอบที่ติดช่วงหัวเรือกับส่วนของลำเรือเข้าด้วยกัน 5.2 ซางอเป็นส่วนประกอบที่วางเสากระโดงหรือวางหางเสือของเรือ 5.3 รอแย คือส่วนประกอบที่ใช้ผูกยึดติดกับหางเรือ 6. ขั้นตอนการฉลุลวดลายและลงสี การนำส่วนประกอบทั้งหมดจะต้องฉลุลวดลายเตรียมพร้อมสำหรับการตกแต่งลวดลาย จิตรกรรมด้วยสีน้ำมัน

ศิลปวัฒนธรรมการตกแต่งลวดลายบนเรือกอและ

วัฒนธรรมทางด้านศิลปะและการตกแต่งเรือกอและด้วยลวดลายจิตรกรรมต่าง ๆ เป็นจุดเด่นของเรือกอและในภาคใต้ทำ

กันแพร่หลายมากโดยไม่ใช่ตั้งใจที่จะทำเพื่อความสวยงามอย่างเดียว แต่มีความเชื่อทางด้านศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง


วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและประกอบด้วย

1. วัสดุที่ใช้ถ้าเป็นของพื้นบ้านต้องมีแปรงทาสี พู่กัน มีดินสอ

2. ภาชนะใส่สี มีน้ำมันก๊าด ผ้าเช็ดสี จานสี

3. ที่สำคัญก็คือ สีน้ำมัน สีน้ำมันปกติถ้าเป็นจิตรกรรมเราใช้สีน้ำมันเป็นหลอด ที่ศิลปินเขียนกันแต่ว่าศิลปินพื้นบ้านที่นี่ใช้

สีน้ำมันที่เป็นกระป๋อง เป็นประเภทสีเคลือบเรียกว่าสีเคลือบสังเคราะห์ สีที่ใช้ในการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมเรือกอและโดยทั่วไป

มี 9 สี

3.1 กลุ่มที่หนึ่งได้แก่ สีเขียว สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน เป็นสีเขียนรองพื้นในส่วนต่าง ๆ

3.2 กลุ่มที่สองได้แก่ สีขาวผสม เป็นสีเขียวอ่อน เป็นสีชมพู สีเหลืองอ่อน แล้วก็สีฟ้า

3.3 สีกลุ่มที่สามได้แก่ สีขาว ดำ เป็นกลุ่มสีที่ใช้ในการตัดเส้นเน้นลวดลายต่าง ๆ ของเรือให้เกิดมีมิติสวยงาม


ขั้นตอนการลงสีเขียนลายลงบนเรือกอและ

1. ขั้นตอนการรองพื้น

เมื่อสร้างลำเรือขึ้นมาได้แล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องรองพื้นก่อนที่จะตกแต่งลวดลายจิตรกรรม การรองพื้นส่วนใหญ่แล้วจะรองพื้น

3 ชั้น และมีสีด้วยเช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว รองพื้นตรงนี้ 3 เที่ยว วิธีการรองพื้นใช้สีน้ำมันเป็นสีเคลือบสังเคราะห์ ระบายไปหนึ่ง

ครั้งแล้วรอให้แห้งแล้วจึงระบายซ้ำลงไป จะซ้ำตอนสีไม่แห้งไม่ได้ รองพื้น 3 ชั้น การรองพื้นบนเรือกอและเวลารองพื้นจะไม่ใช้รอง

พื้นสีเขียวทั้งลำเรือหรือสีเหลืองทั้งลำ แต่จะรองพื้น เช่น กาบเรือด้านล้างเป็นสีเขียว กาบเรือด้านบนสีแดง ลักษณะแบบนี้คือในการ

รองพื้นลักษณะจะได้เป็นสีพื้นแต่หลากสี โดยเจ้าของเรือสามารถที่จะบอกได้ว่าจะเอาเรือสีอะไร ในการบอกนั้นเจ้าของเรือมีสิทธิ์

บอกได้เฉพาะที่ท้องเรือว่าท้องเรือจะเอาสีอะไร แต่สำหรับเรือทั้งลำนั้นเป็นสิทธิ์หรือเป็นอารมณ์ความชอบของศิลปินพื้นบ้านเป็นคน

วาด

2. การร่างภาพ

การร่างภาพจะร่างได้ 2 วิธีการด้วยกัน ก็คือร่างภาพที่สีอ่อนใช้สีอ่อน ๆ ร่างภาพลงไปแล้วอีกอย่างคือถ้าเป็นเครื่องประดับ

ที่ละเอียดก็จะต้องร่างภาพด้วยดินสอ

3. การระบายสี

โดยทั่วไปหลังจากที่ร่างภาพแล้วจะระบายสีโดยเริ่มจากการลงสีในกลุ่มที่ 3 ก่อน คือสีกลางก่อนรอให้แห้งแล้วก็ลงสีกลุ่ม

ที่สอง ซึ่งสีจะเข้มในส่วนของเงาแล้วก็ปล่อยให้แห้ง หลังจากนั้นลงสีอีกครั้งหนึ่งลงสีขาวในส่วนที่เป็นแสงจับแล้วจะใช้สีดำในการตัด

เส้นเพื่อให้เกิดภาพที่สวยงาม

เรือกอและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนกับเรือทั่วไปในประเทศ การตกแต่งลวดลายจิตรกรรมที่งามวิจิตรพิศดารบน เรือกอและตลอดทั้งลำ คุณค่าของเรือกอและที่เป็นรูปธรรมที่สุดคือ การเป็นยานพาหนะสำหรับประกอบอาชีพประมงในเขตจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เรือกอและสามารถบอกเรื่องราวโดยเริ่มจากชาวประมงใช้เรือกและเพื่อการติดต่อกับเพื่อนบ้าน เพื่อนันทนาการคือ การแข่งขันประชันความเร็วเรือกอและ ด้านวัมนธรรมทางศิลปกรรมของชนพื้นบ้านที่สามารถสะท้อนและแสดงออกถึงวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่ประสมประสานหลายวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งนับว่าเรือกอและน่าจะเป็นมรดกและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าแก่การถ่ายทอด ต่อไป

2 views0 comments

Recent Posts

See All

เรือไทยในภาคเหนือ

ภาคเหนือของเรา โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนพบว่า ในแถบลุ่มน้ำที่สำคัญคือ ปิง วัง ยม น่าน จะมีการใช้เรือกันเป็นส่วนใหญ่ในการ ประกอบอาชีพ...

ตรุษจีน เทศกาลไหว้และขอพรในวันปีใหม่ของจีน

เทศกาลวันตรุษจีน วันตรุษแปลว่าวันเริ่ม หมายถึงวันเริ่มต้น การเริ่มต้น วันใหม่ เริ่มฤดูกาล ใหม่เริ่มปีใหม่ของคนจีนจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 1...

เรือไทยในภาคกลาง

ประวัติความเป็นมาของเรือในภาคกลาง ถ้าจะย้อนถึงประวัติความเป็นมาของเรือไทยในภาคกลางนั้นไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร...

Comments


bottom of page